เรื่องราวจากหนังสือหลายร้อยหลายพันหน้า ผมย่อมาให้ฟังแล้วภายใน 20 กว่านาที เรื่องราวน่ารู้ที่คนชอบเดินเขาควรต้องรู้ เรื่อง อาการแพ้ความสูง (Acute Mountain Sickness) ถ้าไม่รู้เรื่องพวกนี้ก่อนเดินเขา ขอให้คิดใหม่อีกครั้งนะครับ สารบัญเรื่อง
ปัจจัยเสี่ยง
- 4:38 คนที่ไม่น่าจะป่วยแน่ๆ
- 5:12 เคยมีอาการแพ้ความสูงมาก่อน
- 5:22 คนที่มีการเปลี่ยนความสูงอย่างรวดเร็ว
- 6:09 การดื่มแอลกฮอล์ โรคประจำตัวที่ควรรู้ก่อนไปพื้นที่สูง
- 7:35 ความดันโลหิตสูง (Hypertension)
- 8:04 หอบหืด (Asthma)
- 8:20 เบาหวาน
- 8:40 โรคหัวใจ
- 8:54 การตั้งครรภ์
อาการแพ้ความสูง (Acute Mountain Sickness / AMS)
- 9:18 อาการแพ้ความสูง
- 11:14 การป้องกันไม่เกิดอาการ AMS
- 12:40 การปรับตัวของร่างกายเข้ากับพื้นที่สูง (Acclimatization)
- 14:34 การใช้ยาเพื่อป้องกันอาการ AMS
- 16:50 การรักษาอาการแพ้ความสูง AMS เบื้องต้น
อาการสมองบวมจากการขึ้นพื้นที่สูง (HACE)
HACE อาการปอดบวมน้ำจากการขึ้นพื้นที่สูง (HAPE)
ถ้าหากมีคำถามใดๆ สามารถพิมพ์ไว้ในช่องความเห็นได้เลยนะครับ ผมจะพยายามตอบให้ทุกคำถาม
ไปเดินเขาอย่างไรไม่ให้ป่วย
ตลอดหลายปีมานี้ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ากิจกรรมการไปท่องเที่ยวในสถานที่ที่สูงๆได้รับความนิยมในหมู่นักท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นการไปเดินเขาเพื่อพิชิตยอดต่างๆ ไปเมืองที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลมากๆ เช่น ทิเบต เปรู หรือ จีนบางเมือง
แต่การที่นำเอาร่างกายของเราไปยังสถานที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลที่มากกว่าปกติตามสถานที่อยู่อาศัยย่อมทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของร่างกายเพื่อหาจุดสมดุลของร่างกาย อาการต่างๆที่เกิดขึ้นเกิดจากการที่ร่างกายปรับตัวเข้าหาจุดสมดุลนี้ไม่ทัน หรือปรับไม่ได้นั่นเอง
แค่ไหนจึงถือว่าสูง???
- ความสูงในที่นี้วัดจากความสูงจากระดับน้ำทะเล เช่น จุดสูงสุดของประเทศไทย คือ ยอดดอยอินทนนท์ ที่สูงประมาณ 2,500 เมตรจากระดับน้ำทะเล
- กล่าวคือ หากเกิน 2,500 เมตรจากระดับน้ำทะเล ถือว่าสูง!!!! พื้นที่ส่วนใหญ่ที่เราไปเที่ยวกันอยู่ในช่วง 3,000 – 5,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล
แล้วทำไมนั่งอยู่บนเครื่องบินที่สูงจากพื้นตั้งเยอะทำไมไม่ป่วย???
- สาเหตุมาจากบนเครื่องบินจะถูกปรับความดันอากาศให้อยู่ในระดับที่ร่างกายปกติหรือประมาณ 2,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล ร่างกายจึงไม่มีอาการผิดปกติ
ปัจจัยเสี่ยงที่ควรรู้ก่อนการเดินทางไปที่สูง
- คนบางกลุ่มสามารถอาศัยอยู่บนพื้นที่ๆมีความสูงโดยไม่มีอาการป่วย เช่น คนธิเบตที่มีการตั้งถิ่นฐานที่อยู่อาศัยบนพื้นที่มีความสูงกว่า 3,000-4,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล เนื่องจากคนกลุ่มนี้อาจมีการปรับตัวมาอย่างยาวนานหลายปี
- ความแข็งแรงของร่างกายไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกว่าเราจะป่วยหรือไม่ป่วย เปรียบเสมือนคนที่วิ่งเร็วกว่าไปถึงเส้นชัยก่อนแต่ไม่ได้การันตีว่าเค้าจะถึงเส้นชัยอย่างปลอดภัย โดยพบว่าคนที่เคยป่วยเมื่อไปที่สูงมาแล้วมีโอกาสป่วยได้อีกเมื่อไปที่ที่มีความสูง
- เปลี่ยนความสูงอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาสั้นๆหรือเปลี่ยนแปลงมากเกินไปต่อวัน ปกติไม่ควรเปลี่ยนแปลงความสูงเกิน 500 เมตรต่อวัน
- เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มแอลกอฮอล์จะทำให้ร่างกายต้องการออกซิเจนมากกว่าปกติ อาการจากฤิทธิ์แอลกอฮอล์อาจทำให้เกิดความสับสนได้
- ประวัติการป่วยหรือโรคประจำตัว
การเตรียมตัวการเดินทางไปยังที่สูง
ทุกๆการเดินทางเมื่อไปในพื้นที่ที่มีความสูงมากกว่า 2,500 เมตรจากระดับน้ำทะเลจำเป็นที่จะต้องมีการวางแผนการเดินทาง ปรับแผนการเดินทาง และคำนึงถึงถึงโรคประจำตัว ทั้งนี้แนะนำให้พบแพทย์เฉพาะทางด้านการเดินทาง(Travel Medicine) เพื่อสามารถที่จะให้คำแนะนำวิธีการป้องกันและปฏิบัติตนสำหรับแต่ละคน
โรคที่เกี่ยวกับการเดินทางไปยังที่สูง
Acute Mountain Sickness (AMS) อาการแพ้ความสูงมาจากการที่ร่างกายไม่สามารถปรับความกดอากาศที่เปลี่ยนแปลงไม่ทัน ก่อให้เกิดความผิดปกติและอาการตางๆ อาการมักเกิดหลังเดินทางประมาณ 6-12 ชม. เมื่อไปถึง ช้าหรือเร็วกว่านั้นขึ้นอยู่กับตัวบุคคล ทั้งนี้ปกติแล้วเราสามารถสังเกตตัวเองจากคืนวันแรกที่ไปถึง
อาการ : คล้ายคนเมาค้าง ปวดหัว คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ใจสั่น ความรุนแรงตั้งแต่น้อยไม่จนถึงมากก
วิธีการป้องกัน :
- ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ไม่เปลี่ยนแปลงความสูงเร็วเกินไป หากมีอาการแนะนำว่าให้อยู่ที่ความสูงเดิมก่อน หากไม่ดีขึ้นต้องลดระดับความสูงโดยการเดินลง หากอาการไม่ดีขึ้นให้เดินลง
- ค่อยๆเดินไม่ต้องรีบ (Ascend Slowly)
- ขึ้นสูงแล้วนอนต่ำ (Climb high and Sleep low) เพื่อให้ร่างกายได้ปรับตัวไปสัมผัสกับช่วงที่ออกซิเจนลดลงแล้วปรับตัว การเปลี่ยนแปลงความสูงไม่ควรเกิน 500 เมตรต่อวัน ควรมีวันพักหรืออยู่ที่ระดับความสูงเดิม
- อย่าออกกำลังกายหรือประกอบกิจกรรมที่ให้แรงเยอะ ให้อยู่เฉยๆค่อยๆหายใจช้าๆ เพราะว่าการใช้แรงเยอะจะทำให้เกิดการใช้ออกซิเจนมากกว่าปกติ ซึ่งทำให้มีแนวโน้มป่วยง่ายขึ้น
การปรับตัวทางร่างกาย (Acclimatization)
- เมื่อเรายิ่งขึ้นที่สูงมากขึ้นเรื่อยๆ ความกดอากาศของออกซิเจนในอากาศจะลดลงเรื่อย และมีผลให้ออกซิเจนที่เราหายใจเข้าไปลดลง (Hypoxia) สิ่งที่ร่างกายจะตอบสนองคือ หายใจเร็วขึ้น (Hyperventilation) เพื่อชดเชยออกซิเจนที่ร่างกายสูญเสียไป ผลของการหายใจที่เร็วขึ้นจะทำให้เลือดของเราเป็นด่างมากขึ้น (Alkalosis) ซึ่งเมื่อถึงจุดหนึ่งๆที่เราหายใจจำนวนครั้งมากเกินไปแล้ว เราก็จะหายใจเร็วกว่านี้ไม่ได้อีก ร่างกายจึงจำเป็นต้องเริ่มขับด่างออกจากร่างกายเนื่องจากมีมากเกินไป ร่างกายก็จะขับออกผ่านทางการกรองของไตหรือออกมาทางปัสสาวะ ซึ่งระยะเวลาในการขับด่างออกมาทางปัสสาวะของแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน นี่จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมคนเราจึงปรับตัวได้ช้าเร็วต่างกัน
- คนไหนขับด่างได้เร็วก็จะปรับตัวได้เร็วกว่าคนที่ขับด่างได้ช้ากว่าทางปัสสาวะ
การป้องกันด้วยการทานยา (Consider taking a Preventive medicine)
ยาหลักชื่อว่า Diamox (Acetazolamide) จัดเป็นยาในกลุ่ม Sulfa คนแพ้ยากลุ่มนี้ต้องได้รับคำแนะนำของแพทย์ ออกฤทธิ์ทำให้เลือดเป็นกรด เพื่อจะได้ขับด่างออกได้เร็วมากยิ่งขึ้น(ปัสสาวะบ่อย) ควรกินก่อนการเดินทาง 1-2 วันก่อนเดินทาง ส่วนขนาดยาที่บริโภคคือ 125 มิลลิกรัม ซ้ำทุก 12 ชั่วโมง กินก่อนขึ้นที่สูง 1 วันกินทุกวันจนไปถึงระดับความสูงสูงสุดของการเดินทางนั้นๆผ่านไป 24 ชั่วโมงให้หยุดทาน
ยาตัวอื่นคือ Dexamethasone อยู่ในกลุ่มสเตียรอยด์(Steroid) เป็นยาที่มีผลข้างเคียงมากกว่าโดยการกดอาการไม่ให้เกิดขึ้น ซึ่งยาจำพวกนี้จำเป็นต้องอยู่ในการควบคุมของแพทย์
การรักษาอาการแพ้ความสูง (AMS Treatment)
- อยู่เฉยๆ รอให้หายไปเอง 1-2 วัน
- ไม่ดีขึ้นเดินลง
- ใช้ยาตามอาการ เช่น ปวดหัวอาจใช้กลุ่มของบรูเฟน หรือพาราเซตามอล รวมถึง Diamox
****ขนาดของยาที่รับประทานแนะนำให้ปรึกษาแพทย์เนื่องจากข้อมูลหรือข้อจำกัดทางสุขภาพของแต่ละคนแตกต่างกัน
คนเราไม่ตายด้วยโรคแพ้ความสูงหรือ AMS แต่จะป่วยหรือเสียชีวิตจากอาการที่ได้จากการแพ้ความสูง
อันได้แก่….
สมองบวมจากการขึ้นพื้นที่สูง(High – Altitude Cerebral Edema: HACE)
เป็นอาการที่ต่อเนื่องจากการการแพ้ความสูงลักษณะอาการเริ่มจากการเดินเซ ปวดหัวมาก ไม่มีปฏิกิริยาตอบสนอง เซื่องซึม ตอบสนองช้า การรักษาจำเป็นต้องลงจากความสูงนั้นทันที ให้ออกซิเจนและมีการใช้ยาบางประเภทร่วมด้วย
อาการปอดบวมน้ำจากการขึ้นที่สูง (High Altitude Pulmonary Edema: HAPE) เมื่อออกซิเจนลดทำให้เส้นเลือดในปอดหดตัว ส่งผลให้ความดันในปอดเพิ่มขึ้นและปอดบวมขึ้นตามลำดับ ลักษณะอาการเเริ่มต้นจากการแพ้ความสูง ต่อมาจะมีอาการหายใจเหนื่อยยย ไอมีเสมหะสีชมพู(Pink Frothy Sputum) ซึ่งเป็นสีของเลือดที่มาจากปอด การรักษาจำเป็นต้องลงจากพื้นที่นั่นอย่างรวดเร็ว ยารักษามี 2 กลุ่มหลักได้แก่ Nifedipine และ Tadalafil ทำให้เส้นเลือดปอดขยาย และให้ออกซิเจนอย่างรวดเร็ว
Tip!!! ทุกครั้งที่มีการเดินทางจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณา ประกันการเดินทาง ครอบคลุมการรักษากรณีพวกนี้หรือไม่? เฮลิคอปเตอร์ในการขนย้ายทั้งตัวผู้ป่วย ญาติหรือแม้กระทั่งศพ เป็นต้น มีระยะเวลาเดินทางที่เหมาะสม ไม่เอาร่างกายตนเองไปเทียบกับคนอื่นเนื่องจาก ร่างกายแต่ละคนไม่เท่ากัน ปรับตัวไม่เหมือนกัน
ไปเที่ยวเพื่อไปหาความสุขไม่ได้ไปเที่ยวเพื่อป่วย