ท่องดินแดนสุดยอดอารยธรรมของเอเชียกลางที่ประเทศอุซเบกิสถาน ผ่านเมืองมรดกโลกทั้ง 3 แห่ง ซามาร์คันด์ บูคาร่า และ คีว่า ผ่าทะเลทรายคาราคุมอันแสนแห้งแล้งชม หนึ่งในสถานที่ๆต้องมาก่อนตายที่ ประตูสู่นรกดาร์วาซ่าปิดท้ายที่เมืองอารยธรรมที่สร้างด้วยหินอ่อนแห่งอาซกาบัตเมืองหลวงของประเทศเติร์กเมนิสถาน
เริ่มต้นสัมผัสดินแดนหลังม่านเหล็กของประเทศที่สุดลึกลับสองประเทศแห่งนี้กัน
ทริปนี้เป็นส่วนหนึ่งของทริปการเดินทางที่จะเกิดขึ้นกับบริษัททัวร์ Patourlogy บริษัทนำเที่ยวการเดินทางของหมอๆตะลุยโลก ครับ
เดินทางสู่อุซเบกิสถานกับเมืองหลวงที่ผ่านทาง
จากกรุงเทพมีไฟลต์บินตรงสู่ประเทศอุซเบกิสถาน สัปดาห์ละ 5 วันครับ เวลาในแต่ละวันจะไม่ตรงกันเลย สำหรับการวางแผนต้องวางแผนให้รัดกุมและลงตัว แต่เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการเข้าภูมิภาคเอเชียกลางในสองประเทศนี้ครับ
ไฟลต์ของ Uzbekistan airways นำพาเรามาถึงเมืองหลวง ทาชเคนท์ (Tashkent) จากนั้นก็สามารถที่จะหารถเพื่อเดินทางต่อไปยังเมือง ซามาร์คันด์ (Samarkand) ได้ทันที
เมืองซามาร์คันด์ (Samarkand)
จัตุรัสเรจีสถาน (Registan Square) เป็นจัตุรัสกลางเมืองที่มีชื่อเสียงและยิ่งใหญ่งดงามไปด้วยศิลปะอิสลาม ซึ่งถูกกล่าวขานว่ามีความงดงามที่สุดในเอเชียกลาง ตกแต่งด้วยกระเบื้องเคลือบสีฟ้าตัดขอบด้วยสีเหลือง
สุเหร่าบิบิ คะนุม (Bibi Khanum Mosque) เป็นสุเหร่าที่ถูกสร้างขึ้นมาและใหญ่ที่สุดในโลกอิสลาม เพื่อแสดงให้เห็นถึงพลังอํานาจที่สามารถปกครองดินแดนได้มากกว่าใครในประวัติศาสตร์ ถูกสร้างเมื่อปี ค.ศ.1399
ตลาดกลาง (Siyab Bazaar) ซึ่งเป็นตลาดที่มีชื่อเสียงสุดของเมือง เป็นแหล่งรวมอาหาร วัตถุดิบ หรือเอาไว้สำหรับการเดินดูชีวิตประจำวันของชาวเมืองซาร์มาคันด์
ชาห์ อิ ซินดา (Shah i Zinda Complex) ซึ่งมีความหมายว่า เป็นที่อยู่ของกษัตริย์ (The Living King/Necropolis) เป็นสถานที่รวมสุสานขนาดใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่บนเนินเขา อัฟราซิยาบ (Afrasiyab) นอกกําแพงเมืองเก่า
สุสานของผู้พิชิตแห่งเอเชียกลางในสมัยโบราณติมูร์ (Gur-e-Amir Mausoleum) ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้เป็นที่ฝังศพของทาเมอเลน หรือ ติมอร์ วีรบุรุษประจำชนชาติเอเชียกลางผู้สืบเชื้อสายมาจากเจงกิสข่าน สถานที่แห่งนี้มีความโดดเด่นทางด้านสถาปัตยกรรมจนเป็นที่เลื่องลือไปทั่วโลก
รถไฟความเร็วสูง Afrosiyob
เป็นอะไรที่เหลือเชื่อ แต่ก็ต้องเชื่อว่าอุซเบกิสถาน มีรถไฟความเร็วสูง (High speed train) ที่มีประสิทธิภาพและใช้งานได้จริง ชนิดที่คนไทยเรายังต้องงงครับ รถไฟความเร็วสูงของอุซเบกิสถานสามารถทำเร็วได้ตามมาตรฐานที่ประมาณ 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำให้การเดินทางภายใน 3 เมืองหลักของประเทศ คือ Tashkent – Samarkand – Bukhara ใช้เวลารวมๆกันไม่ถึง 6 ชั่วโมง ตลอดระยะทาง 700 กว่ากิโลเมตร
เราจะใช้รถด่วนขบวน Afrosiyob เพื่อเดินทางจากเมืองซามาร์คันด์สู่บูคาราครับ
โอเอซิสแห่งบูคารา (Oasis of Bukhara)
เมืองแห่งโอเอซิสกลางทะเลทรายอันแสงแห้งแล้ง แต่กลับกลายเป็นอู่อารยธรรมที่สำคัญของเอเชียกลาง เมืองบูคารามีความสำคัญขึ้นมาเนื่องจากเป็นจุดพักที่สำคัญของกองคาราวานในสมัยอดีตในการขนถ่ายสินค้าและตระเตรียมเสบียงอาหารก่อนจะเข้าสู่ทะเลทรายคาราคุมอันแสนแห้งแล้ง ในขณะเดียวกันนักเดินทางที่พึ่งสะบักสะบอมจากการข้ามทะเลทรายก็จะใช้บูคาราเป็นจุดฟื้นคืนชีวิต ทำให้เมืองบูคาราแห่งนี้ได้รับการตั้งจากยูเนสโกให้เป็นอีกหนึ่งเมืองมรดกโลกของประเทศนี้ครับ
สถานที่เที่ยวแต่ละแห่งของเมือง จะอยู่ภายในเขตเมืองเก่าทั้งสิ้น
ไลอับบี เฮ้าซ์ (Lyab i Hauz) เป็นสถานที่สําหรับสอนศาสนาที่ตั้งอยู่บริเวณริมสระน้ำที่ให้ความร่มรื่นกับผู้ที่เข้ามายังสถานที่แห่งนี้ บริเวณมุมรอบๆ สระจะมีต้นมัลเบอร์รี่ ที่เหลืออีก 3 ด้านจะประกอบไปด้วยโรงเรียนสอนศาสนา
Sitorai Mohi Khosa Palace หรือพระราชวังฤดูร้อน สร้างขึ้นตอนปลายศตวรรษที่19เพื่อเป็นที่ประทับของเจ้าผู้ครองนครสององค์สุดท้ายและในยุคนั้นได้มีการเจริญสัมพันธไมตรีกับรัสเซีย จากนั้นอิสระชมวิถีชีวิตคนเมือง ให้ท่านได้เลือกซื้อสินค้าของที่ระลึกตามอัธยาศัย
สุสาน Ismail Samanid Mausoleum ที่ฝังพระศพของ อีสมาอีล ซึ่งเป็นกษัตริย์ที่ปกครองอยู่ที่เมืองนี้ในสมัยอาณาจักรเปอร์เซียที่รุ่งเรื่อง ที่ฝั่งพระศพนี้สร้างในปี ค.ศ.892 และสำเร็จในปี ค.ศ.943 ได้รับการยกย่องว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่สวยงามของเอเซียกลาง
ป้อมดิอาร์ค (The Ark Fortress) ซึ่งเป็นป้อมเก่าแก่สร้างในศตวรรษที่ 5 ตั้งอยู่ใจกลางเมือง และเมื่อขึ้นไปด้านบนของป้อมจะสามารถเห็นวิวทิวทัศน์ของเมืองได้อย่างชัดเจน มีกําแพงล้อมรอบมีความยาวประมาณ 800 เมตร ส่วนของกําแพงมีความสูงถึง 16-20 เมตร ถูกสร้างด้วยอิฐหนาทึบและสูงใหญ่ ส่วนประตูมีซุ้มโค้งและหอคอยทั้งสองด้าน ซึ่งในอดีตภายในถูกใช้เป็นศูนย์กลางการปกครอง
คาลอน มินาเรต (Karon minaret) สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1127 คำว่าคาลอน แปลว่า ยิ่งใหญ่ ส่วนคำว่ามินาเรต มาจากคำว่า มานารา (Manara)ในภาษาอาหรับที่แปลว่า หอใช้สำหรับเรียกผู้คนให้เข้ามาทำการละหมาดที่มัสยิด และสำหรับบอกทิศให้กับกองคาราวานที่เดินทางยามค่ำคืน
โบโล เค้าซ คอมเพล็ก (Bolo Khauz Complex) เป็นอาคารสุเหร่าในสมัยกลาง
วันนี้เราจะออกเดินทางไกลผ่า ทะเลทราย Karakum เลาะไปตามเลียบชายแดนประเทศเติร์กเมนิสถาน เพื่อไปยังโอเอซิสกลางทะเลทรายที่ยิ่งใหญ่ไปด้วยประวัติศาสตร์อีกแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของประเทศที่ เมืองอูร์เกนช์ (Urgench) ก่อนที่จะเข้าสู่เมืองที่สำคัญที่สุดทางภาคตะวันตกของประเทศที่เป็นมรดกโลกอีกแห่งคือ เมืองคีว่า (Khiva)
เมืองคีว่า (Khiva)
เมืองคีว่า (Khiva) ที่ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของอาณาจักรโบราณคาวาเรซม ซึ่งได้รับการกล่าวขวัญว่าเป็น “เมืองที่มีโดมนับพันโดม (The City of a Thousand Domes)” มีสถานท่องเที่ยวที่สำคัญตั้งอยู่ในกำแพงเมืองเก่า
อิทชานคาล่า (Itchan kala) ภายในป้อมปราการขนาดใหญ่แห่งนี้จะประกอบไปด้วยสถานที่ต่างๆ พระราชวัง โรงเรียนสอนศาสนา สุเหร่าที่ยิ่งใหญ่ มีหอคอยสูง ตกแต่งด้วยกระเบื้องโมเสคสีสันที่สวยงามและได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลกในปี ค.ศ.1990
ป้อมคุนยาอาร์ค (Kunya Ark Fortress) ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกของอิชานคาล่า ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง
มัสยิด จูมา (Juma Mosque) มัสยิดประจำเมือง
พระราชวังทัช คอบลี (Tash Khovli /Stone Yard Palace) เป็นพระราชวังฤดูร้อน ที่มีรูปแบบในการก่อสร้างอย่างสวยงามอีกเช่นกัน และมีรูปแบบการใช้งาน และการจัดสรรการใช้งานของห้องต่างๆ ชม
โรงเรียนสอนศาสนาอัลลา คูลี ข่าน (Alla-Kuli-Khan Madrasah) ซึ่งถูกสร้างขึ้นในราวศตวรรษที่ 19 ที่มีความสวยงามมากที่สุดในเรื่องการตบแต่ง
ข้ามพรมแดนสู่เติร์กเมนิสถาน (Turkmenistan)
จากเมืองคีว่า การเดินทางต่อจากนี้คือการข้ามพรมแดนสู่ประเทศเติร์กเมนิสถาน (Turkmenistan) เราเดินทางสู่ เมืองชายแดนชาวัท (Shavat) โดยจะเป็นการเดินทางข้ามแดนผ่านทางด่านชายแดน (Overland) และต้องผ่านพื้นที่ no man land ของแต่ละประเทศ
เมืองดาโชกุซ (Dashoguz)
ทันทีที่ข้ามมาถึงฝั่งประเทศเติร์กเมนิสถาน (Turkmenistan) เมืองดาโชกุซ (Dashoguz) ที่เป็นเอกที่อยู่ฝั่งตรงข้ามชายแดนเป็นเมืองที่มีความสำคัญในแง่ของประวัติศาสตร์สมัยโบราณในช่วงที่เส้นทางสายไหมเจริญรุ่งเรือง
อุทยานประวัติศาสตร์คุนยา เออร์เกนซ์ (Kunya Urgench historical site) ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของ แม่นํ้าอามูร์-ดาร์ยา (Amu-Darya River) แต่เดิมเป็นหนึ่งในเมืองสําคัญที่อยูในเส้นทางสายไหม สถาปัตยกรรมในเมืองเป็นรูปแบบผสมผสานระหวางอารยธรรมตะวันออกและตะวันตก ปัจจุบัน หลงเหลือเพียงสถานที่สําคัญไม่กี่แห่งเนื่องจากโดนทําลายจากศึกสงคราม
สุเหร่าคุทลัก-ทีเมอร์ (Kutlug-Timur Minaret)สร้างขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11 จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 12 และ สุสานทูราเบก-คาห์นุม (Turabek-Khanum Mausoleum) สร้างโดยสถาปัตยกรรมรูปร่างแปลกตาด้านบนสุดของอาคารส่วนกลางปกคลุมด้วยโดมที่ประดับตกแต่งด้วยโมเสก เป็นต้น อุทยานประวัติศาสตร์แห่งนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโกในปี ค.ศ. 2005 และเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวสําคัญของประเทศเติร์กเมนิสถาน
ประตูสู่นรก Darvaza
จาก เมืองดาโชกุซ (Dashoguz) ออกเดินทางลงทางด้านใต้ไปยังไปใจกลาง ทะเลทราย Karakum อันแสนแห้งแล้ง
เราเดินทางมาถึงยัง หมู่บ้านดาร์วาซ่า (Darvaza) เพื่อสํารวจตามเส้นทางของหลุมก๊าซเก่าในทะเลทราย หลุมก๊าซแห่งนี้เป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติที่เกิดจากการทรุดตัวของผืนเปลือกโลก องค์ประกอบของก๊าซส่วนใหญ่เป็นมีเทนและเกิดการเผาไหม้ตลอดเวลาจนถึงปัจจุบันนี้ กลายเป็นอันซีนของประเทศเติร์กเมนิสถานที่ติดต่อคนไปทั่วโลก
ที่นี่มีชื่อเรียกที่นักเดินทางทั่วโลกรู้จักกันดีคือ “ประตูสู่นรก” หรือ Gate to Hell
คืนนี้ใครที่มาเยือนหลุมก๊าซ ทุกคนจำเป็นต้องเต๊นท์ที่จัดเตรียมกันมา เพราะว่าช่วงเวลาที่สวยที่สุดคือช่วงเวลาที่มืดที่สุดของวัน
เมืองหลวงที่สวยที่สุดในโลกอาซกาบัต (Ashgabat)
หลังจากใช้เวลาที่ประตูสู่นรกกันจนเบื่อแล้ว เก็บเต๊นท์ เก็บของขึ้นรถ แล้วเราก็จะเดินทางกันต่อลงไปยังจุดหมายสุดท้ายของเส้นทาง ยังเมืองหลวงที่ทำด้วยหินอ่อนที่สวยที่สุดในโลกนามว่า เมืองอาชกาบัต (Asgabat)
เมืองอาชกาบัต (Asgabat) เป็นภาษารัสเซีย มีความหมายว่า ”เมืองแห่งความรัก” เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของเติร์กเมนิสถาน มีประชากรประมาณ 1 ล้านคน ถือเป็นเมืองที่อายุไม่มากประมาณร้อยกว่าปี แต่เนื่องจากตั้งอยู่ภูมิศาสตร์ที่เป็นรอยต่อระหว่างอิหร่านและเอเชียกลาง ต่อมาเกิดสงครามยุคล่าอาณานิคมของรัสเซีย อาชกาบัต มีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่สะดวกสบาย จึงกลายเป็นจุดแลกเปลี่ยนและขนส่งสินค้าที่สำคัญ
ในปีค.ศ. 1948 เกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรง บ้านเมืองถูกทำลายโดยสิ้นเชิง มีผู้เสียชีวิตนับแสนคน เมืองได้รับการบูรณะอีกครั้งด้วยความช่วยเหลือจากพี่ใหญ่สหภาพโซเวียตในขณะนั้น และภายหลังมีการค้นพบก๊าซธรรมชาติแหล่งใหญ่ของประเทศ ทำให้เติร์กเมนิสถานกลายสภาพเป็นเศรษฐีและมีการใช้หินอ่อนสีขาวมาเป็นส่วนประกอบสำคัญในการก่อสร้างอาคารและสถาปัตยกรรมต่างๆ จนได้ชื่อว่า เป็นเมืองสีขาว
จัตุรัสเสรีภาพ (Independence Square) เป็นอนุสาวรีย์ที่แสดงเพื่อการประกาศอิสรภาพของประเทศ โดยรอบมีรูปั้นของอดีตผู้น้าของประเทศในยุคต่างๆ และมีการตกแต่งด้วยน้ำพุอย่างสวยงาม บริเวณจัตุรัสที่เป็นที่ตั้งของอาคารสำคัญๆโดยรอบ เช่น พระราชวังของประธานาธิบดีเติร์กเมนบาชิ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงกลาโหม
Neutrality Arch อนุสาวรีย์ใจกลางเมือง ที่สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1998 โดยคำสั่งของประธานาธิบดีคนก่อนที่ต้องแสดงให้ถึงความเป็นกลางของประเทศเติร์กเมนิสถาน
อนุสรณ์สถานแผ่นดินไหว Earthquake Memorial ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานให้แก่ผู้ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่อาชกาบัตรเมื่อปี ค.ศ. 1948 โดยลักษณะเด่นของที่นี่คือรูปปั้นกระทิงที่กำลังใช้เขาขวิดลูกโลก
มัสยิด Ertogrul Gazi มัสยิดขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงสุลต่าน Ertuğrul ผู้สถาปนาจักรวรรดิออตโตมานที่ยิ่งใหญ่ในอดีต มัสยิดแห่งนี้มีหอคอย 4 แห่งและโดมขนาดใหญ่ตรงกลาง รูปร่างกล้ายกับสุเหร่าสีน้ำเงิน (Blue mosque) ที่อิสตันบูล
เมืองโบราณนิสา (Old Nisa) เมืองโบราณอดีตราชธานีในสมัยอาณาจักรปาเทียน ห่างจากเมืองอาชกาบัตไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เมืองถูกท้าลายลงจนราบคาบโดยพวกมองโกล ในช่วงศตวรรษที่ 13 ชมซากเมืองเก่าและป้อมปราการนิสา ซึ่งปัจจุบันองค์การยูเนสโก้ได้จัดให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมในปี ค.ศ. 2007
ฟาร์มม้า (Akhalteke horse farm)เพื่อชมม้าสายพันธุ์ Akhal-Teke สายพันธุ์ที่ขึ้นชื่อในเรื่องของความแข็งแกร่งของร่างกาย ถูกใช้ในการศึกสงครามมากกว่า 3,000 ปีที่ผ่านมา อีกทั้งแต่ก่อนยังเป็นม้าสายพันธุ์เดียวกันกับที่จักรพรรดิอเล็กซานเดอร์มหาราชใช้พิชิตอาณาจักรต่างๆอีกด้วย
มัสยิดและสุสานของเติรก์เมนบาชิ (Spiritual Mosque and Mausoleum of Turkmenbashi) เป็นสถานที่ฝังศพของอดีตผู้น้าคนส้าคัญของประเทศ นายซาปามีรัท นิยาซอฟ (Saparmyrat Niyazov) ซึ่งถูกขนานนามเรียกว่า “เติร์กเมนบาชิ” (Turkmenbashi) หรือแปลว่า พ่อของแผ่นดิน ครับ
กลับเมืองไทย
ในช่วงขากลับ จากเติร์กเมนิสถาน จะมีไฟลต์บินตรงกลับกรุงเทพทุกวันด้วย สายการบิน Turkmenistan airline มาถึงสุวรรณภูมิแบบไม่ต้องไปเปลี่ยนเคลื่อนให้เหนื่อยที่ไหนเลยครับ
และนี่ก็คือเรื่องราวของการเดินทางในดินแดนหลังม่านเหล็กทั้งสองประเทศนี้ตลอด 11 วันบนหนึ่งในเส้นทางท่องเที่ยวที่มีครบทุกเรื่องราว ตั้งแต่ ผู้คนที่น่ารัก วัฒนธรรมที่งดงาม หรือธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ ตลอดจนเห็นถึงความทะเยอทะยานของมนุษย์ในการสร้างสิ่งต่างๆขึ้นมาเพื่อให้หลุดพ้นข้อจำกัดต่างๆ
และสุดท้ายนี้สิ่งที่พวกเราอยากจะฝากไว้ก็คือ โลกของเราใบนี้ใหญ่เกินกว่าที่เราจะเก็บตัวเงียบเอาไว้ในพื้นที่เล็กๆของเราครับ
สนใจโปรแกรมการเดินทางเส้นทางนี้และเส้นทางอื่นๆ >>>https://www.patourlogy.com