ทัวร์กอริลลา อูกันดา รวันดา เยือน คัมปาลา (Uganda) เมืองหลวงที่อุดมไปสีสรรแห่งแอฟริกาตะวันออก
เกมไดรฟ์ในไข่มุกแห่งแอฟริกาที่ อุทยานแห่งชาติควีนเอลิซาเบธ (Queen Elizabeth National Park)
ตามไปพบกับ “กอริลลาภูเขา” แห่งป่าบวินดี (Bwidi) กลุ่มสุดท้ายของโลกใบนี้ เยือนหมู่บ้านคนแคระชนเผ่าปิ๊กมี่ (Pygmy village)
ชม คิกาลี (Kigali) เมืองหลวงของประเทศรวันดาที่ได้รับชื่อว่า “สิงค์โปร์แห่งแอฟริกาตะวันออก”
รำลึกไปกับกลิ่นอายแห่งประวัติศาสตร์อันน่าโหดร้ายของโลกใบนี้ ณ ประวัติศาสตร์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Rwandan Genocide Memorial)
9 สิงหาคม พ.ศ.2567 วันที่ 1 : วันนัดหมาย ทัวร์กอริลลา อูกันดา รวันดา
10 สิงหาคม พ.ศ.2567 วันที่ 2 : กรุงเทพ (Bangkok) – แอดดิสอาบาบา (Addis Ababa) – คัมปาลา (Kampala)
11 สิงหาคม พ.ศ.2567 วันที่ 3 : คัมปาลา (Kampala) – อุทยานแห่งชาติควีนเอลิซาเบธ (Queen Elizabeth National Park)
12 สิงหาคม พ.ศ.2567 วันที่ 4 : อุทยานแห่งชาติควีนเอลิซาเบธ (Queen Elizabeth National Park)
13 สิงหาคม พ.ศ.2567 วันที่ 5 : อุทยานแห่งชาติควีนเอลิซาเบธ (Queen Elizabeth National Park, QENP) – หมู่บ้าน Rushaga
14 สิงหาคม พ.ศ.2567 วันที่ 6 : ตามหากอริลลาภูเขา (Mountain Gorilla) – ทะเลสาบมูทันดา (Lake Mutanda)
15 สิงหาคม พ.ศ.2567 วันที่ 7 : ทะเลสาบมูทันดา (Lake Mutanda) – ทะเลสาบคิวู (Lake Kivu)
ประเทศรวันดา (Rwanda) เป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมากที่สุดของทวีปแอฟริกาหรือของโลก รวันดาเป็นประเทศที่บอบช้ำมาจากสงครามกลางเมืองฆ่าล้างเผ่าพันธุ์มาอย่างเจ็บปวด (Rwanda Genocide) แต่ในภายหลังเมื่อสถานการณ์การเมืองมีเสถียรภาพ ถึงแม้จะเป็นประเทศที่มีขนาดเล็ก ไม่มีทางออกสู่ทะเล แต่ด้วยความสามารถในการบริหารประเทศของรัฐบาลทำให้รวันดาได้ชื่อว่า “สิงค์โปร์แห่งแอฟริกาตะวันออก” ท่านจะสัมผัสได้ถึงความแตกต่างของบ้านเมืองในระหว่างสองประเทศ
16 สิงหาคม พ.ศ.2567 วันที่ 8 : ทะเลสาบคิวู (Lake Kivu) – กรุงคิกาลี (Kigali)
โรงแรม Hôtel des Mille Collines คือ โรงแรมที่อยู่ใน ภาพยนตร์เรื่อง “Hotel Rwanda”
ซึ่งบอกเล่าเหตุการณ์ทางการเมืองรวันดาในปี 1994 ซึ่งขณะนั้น “พอล รูสซาบาจินา” ทำงานเป็นผู้จัดการโรงแรมใน คิกาลี เมืองหลวงของประเทศ เขาใช้ชีวิตแบบชนชั้นกลางสบายๆ เขามีภรรยาที่ทั้งสาวและสวยชื่อ “ทาเทียนา” กับลูกเล็กๆ สี่คน ชีวิตของเขาเป็นเหมือนการเชื่อมโยงของสองชนเผ่าเพราะเขาเป็นชาวฮูตู ในขณะที่ภรรยาของเขาเป็นชาวทุตซี คืนหนึ่งประธานาธิบดีของรวันดา ซึ่งเป็นชาวฮูตูถูกลอบสังหาร ภายในเวลาไม่กี่นาทีต่อจากนั้นการฆ่าฟันก็เริ่มต้นขึ้นโดยกลุ่มหัวรุนแรงชาวฮูตูที่ใช้การตายของประธานาธิบดีเป็นข้ออ้าง เพื่อกำจัดพวกทุตซี ตลอดระยะเวลาเพียงสามเดือน มีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ไปถึงแปดแสนศพ
“พอล รูสซาบาจินา” เปลี่ยนโรงแรมที่เขาทำงานอยู่ให้กลายเป็นที่หลบภัยสาหรับชาวทุตซีและผู้อพยพชาวฮูตูกว่าพันคน ตลอดสามเดือนต่อมาเขาติดสินบนกลุ่มมือสังหารชาวฮูตูเพื่อต่อรองไม่ให้บุกเข้ามาที่โรงแรม และสามารถช่วยชีวิต ชาวเมืองที่หลบอยู่ในโรงแรมได้ ขณะที่ด้านนอกนั้นกลาดเกลื่อนไปด้วยซากศพ เหตุการณ์นี้ทำให้ “พอล รูสซาบาจินา” และครอบครัวต้องลี้ภัยการเมืองไปอยู่เบลเยียมนานหลายปีกว่าจนสามารถกลับมาเยี่ยมบ้านเกิดได้อีกครั้ง
17 สิงหาคม พ.ศ.2567 วันที่ 9 : กรุงคิกาลี (Kigali)
18 สิงหาคม พ.ศ.2567 วันที่ 10 : แอดดิส อาบาบา (Addis Ababa) – กรุงเทพ (Bangkok)