นพ.อรรควิชญ์ หาญนวโชค
วว.เวชศาสตร์ป้องกัน (เวชศาสตร์การเดินทาง), อายุรศาสตร์เขตร้อนคลินิกมหาบัณฑิต , Certificate in Travel Health™
การเตรียมตัวไปเที่ยวแอฟริกาอย่างปลอดภัย
ทวีปแอฟริกาถือเป็นหนึ่งในทวีปที่เป็นจุดหมายของนักเดินทางทั่วโลกมาเป็นระยะเวลานาน ทวีปแห่งนี้มีสถานที่ท่องเที่ยวระดับโลกที่ดึงดูดผู้คนจากทุกทวีปมาเยือน เช่น การมาซาฟารีที่เซเรงเกิตหรือมาไซมาราในประเทศเคนยาหรือแทนซาเนีย การมาเดินป่าดูลิงกอริลล่าในอูกันดา หรือการเดินเขาขึ้นยอดคิลิมันจาโร ยอดเขาที่สูงที่สุดของทวีปแอฟริกา อย่างไรก็ตามทวีปแอฟริกา (Africa) ด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์และสภาพแวดล้อมที่มักจะมีปัญหาเรื่องของสุขอนามัยและปัญหาโรคติดเชื้อทำให้เป็นทวีปแห่งนี้เป็นสถานที่เราควรจะให้ความสำคัญกับการเตรียมตัวให้มากที่สุด โดยเฉพาะในกลุ่มของโรคติดเชื้อที่สามารถป้องกันได้ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น มาลาเรีย ไข้เหลือง ท้องเสีย ฯลฯ เพื่อที่เราจะได้ท่องเที่ยวอย่างสถานที่ๆสวยงามที่สุดของโลกอีกแห่งหนึ่งได้ปลอดภัยมากที่สุด
เช็คสถานการณ์โรคระบาดต่างๆ
เนื่องจากประเทศไทยไม่ได้มีสถานทูตหรือสถานกงสุลในประเทศส่วนใหญ่ของทวีปนี้ เราจึงควรเช็คข้อมูลต่างๆเหล่านี้ก่อนเดินทางเสมอ สำหรับช่องทางการเช็คข่าวสาร นอกเหนือไปจากทางสื่อทั่วไปตามปกติแล้วนั้น เรายังสามารถติดตามผ่านช่องทางพิเศษได้ดังนี้
ยกตัวอย่างสถานการณ์การระบาดของไวรัสอีโบลา (Ebola) ในเขตเวสต์แอฟริกา (West Africa) หรือการระบาดของไวรัสหัดเยอรมันในเขตภูมิภาคคันโตของประเทศญี่ปุ่นในช่วงปีที่ผ่านมาครับ
- CDC Travel Health Notices สถานการณ์โรคระบาดล่าสุดและคำแนะนำสำหรับนักเดินทาง โดยเป็นข้อมูลของกรมควบคุมโรคสหรัฐอเมริกา
เช็คสถานการณ์การเมืองในประเทศนั้นๆ
เนื่องจากประเทศไทยไม่ได้มีสถานทูตหรือสถานกงสุลในประเทศส่วนใหญ่ของทวีปนี้ เราจึงควรเช็คข้อมูลต่างๆเหล่านี้ก่อนเดินทางเสมอ สำหรับช่องทางการเช็คข่าวสาร นอกเหนือไปจากทางสื่อทั่วไปตามปกติแล้วนั้น เรายังสามารถติดตามผ่านช่องทางพิเศษได้ดังนี้
ยกตัวอย่างเช่น สถานการณ์ความไม่สงบของประเทศซีเรีย (Syria)
- Foreign travel advice เป็นข้อมูลจากกระทรวงการต่างประเทศสหราชอาณาจักร โดยจะมีแผนที่ของประเทศนั้นๆทั่วโลกพร้อมทั้งแจ้งพื้นที่ๆมีความเสี่ยงต่อความปลอดภัยและสวัสดิภาพของนักเดินทาง
เช็คว่าวัคซีนของเราพร้อมสำหรับการเดินทางหรือไม่
เนื่องจากบางประเทศในทวีปแอฟริกา เราจำเป็นต้องฉีดวัคซีนบางชนิดเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการเข้าประเทศนั้นๆ รวมถึงใช้เป็นหลักฐานในช่วงขากลับมาที่เมืองไทย
ไข้เหลือง (Yellow fever)
สำหรับกระทรวงสาธารณสุขของประเทศไทย เรากำหนดเขตติดต่อของไข้เหลืองทั้งหมด 42 ประเทศในทวีปแอฟริกาและอเมริกาใต้ ถ้าหากเราต้องมีการผ่านด่านพรมแดนของประเทศเหล่านี้เราจำเป็นต้องมีสมุดรับรองการได้รับวัคซีนป้องกันไข้เหลือง สำหรับเรื่องของไข้เหลือง ท่านสามารถอ่านบทความได้เพิ่มเติมด้านล่างนี้
- อาการของโรคไข้เหลือง
- วัคซีนป้องกันโรคไข้เหลือง
- สมุดเล่มเหลือง (Yellow fever certification) มีความสำคัญอย่างไร
นอกจากนี้แล้วยังมีวัคซีนป้องกันโรคอื่นๆ ที่ควรจะได้รับคำแนะนำดังนี้ ขึ้นกับลักษณะและแผนการเดินทาง ดูรายละเอียดเรื่องวัคซีนได้ที่นี่
- วัคซีนป้องกันโปลิโอ (Polio)
- วัคซีนป้องกันไข้กาฬหลังแอ่น (Meningococcal)
- วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบเอ (Hepatitis A)
- วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B)
- วัคซีนป้องกันไทฟอยด์ (Typhoid fever)
- วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า (Rabies) กดอ่านเพิ่มเติม
- วัคซีนป้องกันอหิวาต์ (Cholera)
- วัคซีนป้องกันคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน (Diphtheria-Tetanus-Pertussis)
- วัคซีนป้องกันหัด-หัดเยอรมัน-คางทูม (Mump-Measles-Rubella)
การป้องกันเพิ่มเติมสำหรับการท่องเที่ยวในพื้นที่เฉพาะ
เนื่องจากความหลากหลายทางสภาพแวดล้อมของแอฟริกาทำให้มีคำแนะนำเพิ่มเติมในแต่ละสถานที่ๆต้องให้ความสนใจ เช่น
- การท่องเที่ยวแบบส่องสัตว์ (Safari wildlife watching)
- มีโอกาสสัมผัสกับ เห็บ (Ticks) และแมลงวันเช่น Tsetse fly หรือยุงก้นปล่อง (Anopheles) มากยิ่งขึ้น
- ปัญหาเรื่องโรคติดเชื้อจากแมลงต่างๆเช่น มาลาเรีย (Malaria) , ไข้จากเห็บ (African Tick-bite fever)
- การเดินขึ้นเขาสูง (High altitude trekking)
- ปัญหาเรื่องอาการแพ้ความสูง (Acute mountain sickness) อ่านเพิ่มเติมที่นี่
- การล่องแก่งหรือเล่นน้ำในทะเลสาบ (Freshwater exposure)
- เพิ่มโอกาสสัมผัสกับแบคทีเรียโรคฉี่หนูในน้ำ (Leptospirosis)
- เพิ่มโอกาสการสัมผัสกับพยาธิใบไม้ในเลือด (Schistosomiasis)
- การเข้าถ้ำ (Caving)
- มีโอกาสในการสัมผัสกับค้างคาวที่เชื่อว่าเป็นพาหะของเชื้อไวรัสมาร์เบิร์ค (Marburg)
เตรียมยาสามัญประจำบ้านและพื้นฐานไปจากเมืองไทย
แนะนำให้เตรียมยาที่จำเป็นพื้นฐานไปจากเมืองไทย เนื่องจากมีคุณภาพดีและหาได้ง่าย ในทวีปแอฟริกาการหายาต่างๆเหล่านี้มีความยากลำบากกว่ามาก สามารถอ่านรายละเอียดเรื่องยาเพิ่มเติมได้ที่นี่
อย่าลืมเรื่องประกันการเดินทาง (Travel insurance)
ที่สำคัญที่ไม่ควรลืมอย่างเด็ดขาดคือการหาประกันสุขภาพระหว่างการเดินทางที่ครอบคลุมตลอดเส้นทางในทุกประเทศที่ท่านผ่านทาง สามารถอ่านรายละเอียดเรื่องประกันการเดินทางได้ที่นี่
และทั้งหมดนี้ผมก็คิดว่าน่าจะเป็นข้อมูลพื้นฐานเบื้องต้นที่นักเดินทางทุกคนควรให้ความใส่ใจนอกเหนือจากแผนเที่ยวปกติทั่วไปของเรา เพื่อให้การเดินทางของเราปลอดภัยและราบรื่นมากที่สุดตลอดทางครับ