เที่ยว อุซเบกิสถาน การท่องเที่ยวดินแดนแห่งอารยธรรมเอเชียกลาง
ภูมิภาคเอเชียกลางเป็นหนึ่งในจุดหมายที่ถูกคนมองข้ามมากที่สุด และ เที่ยว “อุซเบกิสถาน” คือหนึ่งในนั้น
ก่อนจะไปไกลถึงยุโรปเอย แอฟริกาเอย หรืออเมริกาใต้เอย ลองหันกลับมาสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเรามากขึ้นกันดีไหมครับ
ผู้คน อาหาร การเดินทาง และบรรยากาศที่แตกต่างออกไป
ทำให้ภูมิภาค “เอเชียกลาง” รวมถึงการเที่ยว “อุซเบกิสถาน” เป็นที่ๆไม่มีใครเหมือนและไม่เหมือนใคร
กรุงทาชเคนท์ (Tashkent)
ถ้าหากว่าอุซเบกิสถานเป็นประเทศที่ถูกมองข้ามไปแล้ว เมืองหลวงอย่าง “ทาชเคนท์” ก็คงมีสถานะที่ไม่ต่างกัน
เพราะส่วนใหญ่เรามักจะใช้เมืองหลวงแค่เป็นที่ ขึ้น-ลง เครื่องบินเท่านั้น แต่จริงๆแล้วเมืองนี้ก็ถือว่ามีอะไรให้ดูไม่ใช่น้อย
เมืองหลวง ทาชเคนท์ (Tashkent) ของประเทศ อุซเบกิสถาน (Uzbekistan) จากบนหน้าต่างเครื่องบิน
จะเห็นว่าเมืองทั้งเมืองจะถูกโอบล้อมด้วยเทือกที่ปกคลุมไปด้วยหิมะ
Chorsu Bazaar หรือ ตลาดชอร์ซู ตลาดกลางประจำ กรุงทาชเคนท์ (Tashkent) นั่นเอง
ถ้าอยากดูวิถีชีวิตชาวบ้าน สถานที่สุดคลาสสิคที่ควรต้องไปเยือนก็คือ “ตลาด” และถ้าในทาชเคนท์ ก็ต้องเป็นที่นี่เท่านั้นละครับ
หน้าตาของคนอุซเบค ออกจะละม้ายคล้ายคลึงไปเหมือนกับคนรัสเซียได้ เพราะที่นี่เคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียตครับ
และอาหารจานหลักของพวกเขาบนโต๊ะ ก็จะมี บะหมี่ ข้าว และ แผ่นขนมปังที่เรียกว่า นาน หนูน้อยกำลังมองบะหมี่หลากหลายชนิดอย่างตาไม่กระพริบ
ใน ทาชเคนต์ (Tashkent) จะมีถนนเส้นหนึ่งที่เรียกว่า “Broadway” หรือในชื่อ “Sailgokh Street” ที่เป็นถนนคนเดินและชุกชุมไปด้วยศิลปินจำนวนมาก
และนี่ก็คือหน้าตาของถนน “Broadway” ผู้ชายที่ขี่ม้าอยู่ด้านหลังก็คือ “Amir Timur” หรือ “Tamerlane” หรือที่คนไทยรู้จักกันในชื่อ “ทาเมอร์เลน” สำหรับชาวตะวันตกแล้ว เขาคือจอมทัพผู้เหี้ยมโหด แต่สำหรับชาวอุซเบคแล้ว เขาคือวีรบุรุษของคนในชาติ
บรรดาศิลปินกำลังแสดงผลงานกันอย่างเต็มที่
สิ่งหนึ่งที่ “ห้ามพลาด” คือการมาที่ “Central Asian Plov Centre” พูดในเข้าใจง่ายที่นี่ “ศูนย์ข้าวผัดที่ใหญ่ที่สุดในอเชียกลาง”
แต่ฟังแล้วอาจจะงงกว่าเดิม คือเรื่องของเรื่อง คนอุซเบค เขาจะกิน ข้าวผัด หรือเรียกว่า Plov เป็นหนึ่งในอาหารหลักมากๆๆ (เปรียบได้เหมือนกับกระเพราหมูสับราดข้าวของบ้านเรา)
ในเมืองก็มีร้านขาย Plov จำนวนมาก แต่ที่นี่คือศูนย์กลางของการผัดข้าวที่ใหญ่ที่สุด เว่อวังอลังการครับ
เขาผัดข้าวกันในกระทะที่ใหญ่มากๆ ผัดเสร็จก็ตักใส่จานกันตรงนั้นเลย
พิมพ์ไปน้ำลายหกไปแล้วครับ
ขอบอกว่าอร่อยจริงๆ 555
และนี่ก็คือหน้าตาของข้าวผัดในตำนาน หรือ Plov นั่นเอง ไม่มีหมูนะครับ ที่นี่เป็นประเทศมุสลิม อาหารส่วนใหญ่เป็นเนื้อครับ
ผมว่าภาพนี้อธิบายโครงสร้างหน้าตาของคนอุซเบคได้ดีมากๆ
เพราะมีหลายเชื้อชาติในคนที่เป็นสัญชาติเดียวกัน
ถ้าแบบ รัสเซีย ก็คือผิวขาวๆ จมูกโด่งๆ ตาสีฟ้า คนที่มอสโควหน้าตายังไง ก็หน้าแบบนั้นครับ
ถ้าแบบ ทาจิก เนื่องจากที่นี่พรมแดนติดกับทาจิกิสถาน คนบางส่วนจะเป็นเชื้อชาติผสมได้ ซึ่งคนทาจิกหน้าตาก็จะค่อนข้างละม้ายคล้ายไปกับเอเชียใต้มากขึ้น คือมีความเป็นแบบอัฟกัน+ปากีสถานมากขึ้น
ถ้าแบบอุซเบคแท้ๆ ก็จะอารมณ์ ส่วนผสมของ ตะวันตก+ตะวันออก ได้ความพอดีมารวมกัน ผิวไม่ขาวไม่เข้ม ตาสองชั้น จมูกโด่งเป็นสัน ครับ
เมืองซามาร์คันด์ (Samarkand)
เมือง “ซามาร์คันด์” แห่งอุซเบกิสถาน สถานที่ๆมาพบกันของสองวัฒนธรรมในโลกมุสลิมและวัฒนธรรมของเอเชียตะวันออก “ซามาร์คันด์” (Samarkand) เป็นเมืองใหญ่อันดับสองของอุซเบกิสถาน รองจาก “กรุงทาชเคนต์” (Tashkent) ด้วยประวัติศาสตร์ที่ยาวนานกว่า 2,750 ปี “ซามาร์คันด์” ถือเป็นเมืองเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
หลังจากที่ใช้เวลาที่ “ทาชเคนท์” (Tashkent) กันอย่างเพียงพอแล้ว ก็ได้เวลาที่เราจะไปกันต่อยังเมืองต่อไปคือ “ซามาร์คันด์” (Samarkand) เมืองที่เป็นเหมือนกับสัญลักษณ์ของประเทศนี้รวมไปถึงภูมิภาคนี้เลยก็ว่าได้
สถานที่สวยที่สุดในเมืองซามาร์คันด์คือ “จัตุรัสเรจิสถาน” (Registan Square) ซึ่งหมายถึง “สถานที่ที่มีทราย” ที่นี่จัตุรัสสาธารณะขนาดใหญ่ที่ล้อมรอบไปด้วย 3 กลุ่มสิ่งปลูกสร้าง ได้แก่ ศาสนาสถานจากบรรดามัสยิดมากมาย, คาน (Khan เป็นที่พักค้างคืนสำหรับคาราวาน) และมัดรอซะห์ (madrasa โรงเรียนสอนศาสนา)
ที่นี่เป็นอีกหนึ่งสถานที่ของเมืองซามาร์คันด์ที่เราสามารถดูกระเบื้องลายโมเสคที่มีความละเอียดอ่อนช้อยขั้นสูงสุดของอารยธรรมเอเชียกลางได้ครับ
บรรดาโลงศพจำนวนมากที่่ตั้งอยู่ภายในบริเวณอารามแห่งนี้
อีกหนึ่งมุมมหาชนที่ทุกคนต้องเดินทางมาชมด้วยตาตนเอง
ทีอุซเบกิสถาน เวลาหิมะตกลงมา นี่บรรยากาศไม่ต่างจากญีปุ่นเลยนะครับ ผมคอนเฟิร์ม
ถนนหนทางในเมืองซามาร์คันด์
– University Boulevard –
ตลาดกลาง (Siyab Bazaar) ประจำเมืองซามาร์คันด์ ที่ๆซึ่งชีวิตประจำวันดำเนินไปอย่างเรียบง่าย
เมล็ดธัญพืชต่างๆ
ลัดเลาะเดินไปตามตรอกซอกซอย
ก็จะพบกับบรรยากาศในรูปแบบที่่แตกต่างออกไป
และผมก็ได้พบกับเหล่าวัยรุ่นผู้คุมซอยอยู่ข้างหน้า
และก็แน่นอน “รอยยิ้ม” ยังคงเป็นภาษากายที่ใช้ได้ทั่วโลกเหมือนเช่นเคย
สุสานหลวงของอามีร์ ติมูร์ (Gur-e-Amir Mausoleum)
ที่นี่คือสถานที่บรรจุโลงศพของข่านที่สำคัญของจักรวรรดิติมูร์ในสมัยนั้น รวมถึง ร่างของทาเมอร์เลน
บรรยากาศภายในโถงกลางใหญ่ประจำสุสาน
โลงศพของอามีร์ ติมูร์ ก็คือโลงสีดำที่อยู่ทางด้านซ้ายของภาพ
บนโลงมีข้อความสลักไว้ว่า “เมื่อข้าได้ฟื้นคืนจากความตายอีกครั้ง โลกจะต้องลุกเป็นไฟ”
และอีกหนึ่งข้อความเขียนไว้ว่า “ถ้าหากมีใครมาเปิดสุสานของข้าง มันจะต้องพบกับการรุกรานครั้งยิ่งใหญ่ที่น่ากลัวและโหดร้ายกว่าข้ามากนัก”
เป็นเรื่องจริงที่ว่า หลังจากที่โจเซฟ สตาลิน ผู้นำของโซเวียตในยุคนั้นได้สั่งให้นักมานุษยวิทยาเปิดโลงศพของติมูร์ สองวันถัดมาจักรวรรดินาซีเยอรมันก็ยกทัพบุกรัสเซีย แบบไม่มีการประกาศสงครามล่วงหน้า ในชื่อปฎิบัติการ “Operation Barbarossa” ที่มีมนุษย์บาดเจ็บล้มตายจากสงครามครั้งนี้หลายล้านคน
ความละเอียดของงานสลักลงไปในหินอ่อนขั้นสูงสุด
Ulugh Beg หรือ อูลุคเบค
หนึ่งในผู้ปกครองจักวรรดิ์ติมูร์ เป็นหลานของทาเมอร์เลน
แต่โด่งดังเป็นที่รู้จักจากความสามารถเรื่องของดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์
เมืองบูคารา (Bukhara)
เมืองโอเอซิสท่ามกลางทะเลทราย เป็นจุดศูนย์กลางสำคัญทางการค้าบนเส้นทางสายแพรไหม เป็นจุดแวะพักของกองคาราวาน เป็นศูนย์กลางของศาสนาอิสลามในเอเชียกลาง เป็นเมืองมรดกโลกขององค์การยูเนสโก้ บูคาร่าเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่ยังมีลมหายใจ ผู้คนที่นี่ยังมีวิถีชีวิตไม่แตกต่างจากเมื่อหลายร้อยปีก่อน บรรยากาศในเขตเมืองเก่า ให้ความรู้สึกย้อนยุคเหมือนท่ามกลางขบวนคาราวาน ทั้งสภาพบ้านเรือน ร้านค้า การแต่งกายของผู้คน ราวกับว่านาฬิกาได้หยุดเดินเมื่อห้าร้อยปีก่อน ณ นครแห่งนี้
เลียบีเฮ้าซ์ (Lyab i Hauz)
เป็นสถานที่สำคัญของเมืองที่ตั้งอยู่บริเวณริมสระน้ำ รอบด้านคือโรงเรียนสอนศาสนา และบริเวณมุมรอบๆ สระจะมีต้นมัลเบอร์รี่ (ต้นหม่อน)
โรงเรียนสอนศาสนา คูเคลดาสช (Kukeldash)
Chor Minor
อีกหนึ่งมัสยิดและโรงเรียนสอนศาสนาที่สำคัญของเมืองหลวงมรดกโลกแห่งนี้
Toqi Sarrafon bazaar
ตลาดขายของที่ระลึกที่เป็นส่วนหนึ่งของเขตเมืองเก่า
คุณลุงมาดขรึมที่ผมไม่ต้องขออนุญาตเพื่อถ่ายรูปของแก แต่แกเป็นคนโบกมือให้เรียกมาถ่ายให้แกหน่อย
วิถีชีวิตประจำวันของชาวเมืองบูคารา
เขตเมืองเก่าบูคารามองจากป้อมปราการดิอาร์ค
อิทซานคาล่า (Itchan Kala) แห่งเมืองคีว่า (Khiva)
อิทซานคาล่า (Itchan Kala) แห่งเมืองคีว่า (Khiva) จุดหยุดพักสุดท้ายเส้นทางสายไหมของคาราวานพ่อค้า ก่อนข้ามทะเลทรายเปอร์เซียไปสู่อิหร่าน
.
คีว่าตั้งอยู่ทางตะวันตกของอุซเบกิสถาน แบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆคือส่วนในที่เรียกว่า Itchan Kala กับส่วนนอก ชื่อ Dichan Kala
.
อิทซานคาล่า เป็นป้อมปราการซึ่งตั้งอยู่โซนในของเมืองคีว่า ซึ่งเป็นโอเอซิส จุดหยุดพักของพ่อค้าคาราวานก่อนข้ามทะเลทรายเปอร์เซียไปสู่อิหร่าน
.
ถูกรับรองให้เป็นมรดกโลกโดย UNESCO เนื่องจากมีอนุสาวรีย์เก่าแก่มาก และเศษซากปรักหักพังที่ถูกรักษาไว้อย่างดี ซึ่งเป็นตัวอย่างของสถาปัตยกรรมมุสลิมแห่งเอเชียกลางที่ทรงคุณค่า
.
อิทซานคาล่า เป็นหนึ่งในแหล่งสถาปัตยกรรมที่ วิจิตร ปราณีตที่สุดแห่งหนึ่งของอุซเบกิสถาน ซึ่งภายในมีมัดดารอซะฮ์ ที่สอนศาสนา มัสยิด เช่น Djuma Mosque ซึ่งสวยงาม แปลกประหลาดมาก เป็นมัสยิดที่ใหญ่ที่สุดในเมืองคีว่า มีเพดานเรียบและมีช่องโล่งบนเพดานเพื่อปล่อยให้แสงจันทร์ส่องเข้ามาโอบไล้ผู้มาสักการะยามค่ำคืน มัสยิดแปลกตาแห่งนี้ประกอบด้วยเสาไม้สลักกว่า 213 ต้น นอกจากนั้นยังมีพระราชวัง 2 แห่ง ที่สร้างตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นความภูมิใจของสถาปัตกรรมแห่งนี้
.
มีประวัติศาสตร์ยาวนานมากว่าสองพันปี ก่อเกิดขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 4 สถานที่แห่งนี้เคยเป็น ศูนย์กลางของอารยธรรม Khorezm (ราชอาณาจักรอิหร่านในยุคโบราณ ผู้ปราชญ์เปรื่องด้านธาราศาสตร์ )
.
ภายในป้อมมีขนาดทั้งหมด 26 เฮกตาร์ และถูกสร้างตามแบบฉบับของเมืองเก่าสไตล์เอเชียกลางแบบโบราณ ที่เป็นแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตั้งตามแนวจากทิศใต้ไปทิศเหนือ และถูกปิดล้อมด้วยกำแพงป้อมปราการที่สูงมากสุดถึง 10 เมตร
.
มีความสำคัญทั้งด้านประวัติศาสตร์ ศาสนา และสถาปัตยกรรมครบรสขนาดนี้ หากไปเยือนอุซเบกิสถานต้องห้ามพลาดเด็ดขาด
อิทซานคาล่า ยามค่ำคืน
ภาพส่งท้าย
สำหรับท่านที่สนใจการเดินทางแบบนี้ ทางทีมงานเรามีจัดทริปแบบนี้ด้วยนะครับ แต่เราเพิ่มเติมเติร์กเมนิสถานไปให้ด้วยอีก
ทริปแห่งความทรงจำ ล้ำค่าไปด้วยประวัติศาสตร์ขนานแท้ รอคุณมาค้นพบด้วยตัวคุณเอง
คลิกดู โปรแกรมการเดินทาง ได้เลยที่นี่ครับ